วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มหาสมัยสูตร (แปล)

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค - ๗. มหาสมัยสูตร
[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]


ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกะ ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วน เป็นพระอรหันต์ ก็พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนา พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ ฯ
ครั้งนั้น เทวดาชั้นสุทธาวาส ๔ องค์ ได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาค พระองค์นี้แล ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ ก็พวก เทวดาจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุ สงฆ์ ไฉนหนอ แม้พวกเราก็ควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว พึงกล่าวคาถาเฉพาะองค์ละคาถา ในสำนักพระผู้มีพระภาค
ลำดับนั้น เทวดา พวกนั้น หายไป ณ เทวโลกชั้นสุทธาวาสแล้วมาปรากฏเบื้องพระพักตร์พระผู้ มี พระภาค เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออก หรือคู้แขนที่เหยียดออกเข้า ฉะนั้น เทวดาพวกนั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
การประชุมใหญ่ในป่าใหญ่ หมู่เทวดามาประชุมกันแล้ว พวกเราพากันมาสู่ธรรมสมัยนี้ เพื่อได้เห็นหมู่ท่านผู้ชนะมาร ฯ
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาคว่าภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น มั่นคง กระทำจิตของตนๆ ให้ ตรง บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมรักษาอินทรีย์ เหมือนสารถีถือบังเหียนขับม้า ฉะนั้น ฯ
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนัก พระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุเหล่านั้น ตัดกิเลสดุจตะปู ตัดกิเลสดุจลิ่มสลัก ถอน กิเลสดุจเสาเขื่อนได้แล้ว เป็นผู้ไม่หวั่นไหว หมดจด ปราศ จากมลทิน เที่ยวไป ท่านเป็นหมู่นาคหนุ่ม อันพระผู้มีพระภาค ผู้มีจักษุทรงฝึกดีแล้ว ฯ
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนัก พระผู้มีพระภาคว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นสรณะ เขาจัก ไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้บริบูรณ์ ฯ  ชื่อของหมู่เทวดา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า  ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเทวดาในโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนา ตถาคตและภิกษุสงฆ์ พวกเทวดาประมาณเท่านี้แหละได้ประชุมกัน เพื่อทัศนา พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้มีแล้วในอดีตกาล เหมือนที่ ประชุมกันเพื่อทัศนาเราในบัดนี้ พวกเทวดาประมาณเท่านี้แหละ จักประชุมกันเพื่อ ทัศนาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจักมีในอนาคตกาล เหมือนที่ประชุมกันเพื่อทัศนาเราในบัดนี้ เราจักบอกนามพวกเทวดา เราจักระบุนามพวกเทวดา เราจักแสดงนาม พวกเทวดา พวกเธอจงฟังเรื่องนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระคาถานี้ว่า
เราจักร้อยกรองโศลก ภุมมเทวดาอาศัยอยู่ ณ ที่ใด พวกภิกษุก็ อาศัยที่นั้น ภิกษุพวกใดอาศัยซอกเขา ส่งตนไปแล้ว มีจิตตั้งมั่น ภิกษุพวกนั้น เป็นอันมาก เร้นอยู่ เหมือนราชสีห์ ครอบงำความขนพองสยองเกล้าเสียได้ มีใจผุดผ่อง เป็นผู้ หมดจด ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว พระศาสดาทรงทราบภิกษุประมาณ ๕๐๐ เศษ ที่อยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์
แต่นั้นจึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีในพระศาสนา ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดามุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น ภิกษุเหล่านั้นสดับรับสั่งของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้ กระทำความเพียร ญาณเป็นเครื่องเห็นพวกอมนุษย์ ได้ปรากฏแก่ ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวก ได้เห็นอมนุษย์ร้อยหนึ่ง บางพวก ได้เห็นอมนุษย์พันหนึ่ง บางพวกได้เห็นอมนุษย์เจ็ดหมื่น บาง พวกได้เห็นอมนุษย์หนึ่งแสน บางพวกได้เห็นไม่มีที่สุด อมนุษย์ได้แผ่ไปทั่วทิศ พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงใคร่ครวญ  ทราบเหตุนั้นสิ้นแล้ว แต่นั้น จึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีใน พระศาสดาตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดามุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น เราจักบอกพวกเธอด้วยวาจา ตามลำดับ ยักษ์เจ็ดพันเป็นภุมมเทวดาอาศัยอยู่ในพระนคร กบิลพัสดุ์ มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศยินดี มุ่งมายัง ป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์หกพันอยู่ที่เขาเหมวตามี รัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์สามพันอยู่ที่เขา สาตาคีรี มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ  ยักษ์เหล่านั้นรวม เป็นหนึ่งหมื่นหกพัน มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพมีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์ ห้าร้อยอยู่ที่เขาเวสสามิตตะ มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มี อานุภาพ มีรัศมี มียศยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุม ของภิกษุ ยักษ์ชื่อกุมภีระอยู่ในพระนครราชคฤห์ เขาเวปุลละ เป็นที่อยู่ของยักษ์นั้น ยักษ์แสนเศษแวดล้อมยักษ์ชื่อกุมภีระ นั้น ยักษ์ชื่อกุมภีระอยู่ในพระนคร        ราชคฤห์แม้นั้น ก็ได้มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ
ท้าวธตรัฏฐอยู่ด้านทิศบูรพา ปกครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า อินท มีกำลังมากมีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ
ท้าววิรุฬหก อยู่ด้านทิศทักษิณ ปกครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า อินทมีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายัง ป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ
ท้าววิรูปักษ์อยู่ด้านทิศปัจจิม ปก ครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวกนาค เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า อินท มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มี อานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ
ท้าวกุเวร อยู่ด้านทิศอุดร ปกครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวก ยักษ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มากมีนามว่าอินท มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ท้าวธตรัฏฐเป็นใหญ่ทิศ บูรพา ท้าววิรุฬหก เป็นใหญ่ทิศทักษิณ ท้าววิรูปักษ์เป็นใหญ่ ทิศปัจจิม ท้าวกุเวรเป็นใหญ่ทิศอุดร ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ยังทิศทั้ง ๔ โดยรอบให้รุ่งเรืองได้ยืนอยู่แล้วในป่าเขตพระ นครกบิลพัสดุ์ ฯ
ท้าวโลกบาลทั้ง ๔
พวกบ่าวของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น มีมายา ล่อลวง โอ้อวด เจ้าเล่ห์ มา ด้วยกัน มีชื่อคือกุเฏณฑุ ๑ เวเฏณฑุ ๑ วิฏ ๑ วิฏฏะ ๑ จันทนะ ๑ กามเสฏฐะ ๑ กินนุฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑ และท้าวเทวราชทั้งหลายผู้มีนาม ว่าปนาทะ ๑ โอป มัญญะ ๑ เทพสารถีมีนามว่า มาตลิ ๑ จิตตเสนะ ผู้คนธรรพ์ ๑ นโฬราชะ ๑ ชโนสภะ ๑ ปัญจสิขะ ๑ ติมพรู ๑ สุริยวัจฉสา เทพธิดา ๑ มาทั้งนั้น ราชาและคนธรรพ์พวกนั้น และพวกอื่น กับเทวราชทั้งหลายยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุอนึ่งเหล่านาคท ี่อยู่ใน สระชื่อนภสะบ้าง อยู่ในเมืองเวสาลีบ้าง พร้อมด้วยนาคบริษัทเหล่าตัจฉกะ กัมพลนาค และอัสสตรนาคก็มา นาคผู้อยู่ในท่า ชื่อปายาคะ กับญาติ ก็มา นาคผู้อยู่ใน แม่น้ำยมุนา เกิดในสกุลธตรัฏฐ ผู้มียศ ก็มาเอราวัณเทพบุตรผู้เป็นช้างใหญ่ แม้นั้นก็มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ
ปักษีทวิชาติผู้เป็นทิพย์ มีนัยน์ตาบริสุทธิ์ นำนาคราชไปได้ โดยพลันนั้น มาโดยทางอากาศถึงท่ามกลางป่า ชื่อของปักษีนั้นว่า จิตรสุบรรณ ในเวลานั้น นาคราชทั้งหลาย ไม่ได้มีความ กลัวพระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำให้ปลอดภัยจากครุฑ นาคกับ ครุฑเจรจากัน ด้วยวาจาอันไพเราะ กระทำพระพุทธเจ้าให้เป็นสรณะ พวกอสูรอาศัยสมุทรอยู่ อันท้าววชิรหันถ์รบชนะแล้ว เป็นพี่น้องของท้าววาสพ มีฤทธิ์ มียศ เหล่านี้คือพวก กาลกัญชอสูร มีกายใหญ่น่ากลัวก็มา พวกทานเวฆสอสูรก็มา เวปจิตติอสูรสุจิตติอสูร ปหาราทอสูร และนมุจีพระยามารก็มาด้วยกัน บุตรของพลิอสูรหนึ่งร้อย มีชื่อว่าไพโรจน์ทั้งหมดผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกำลัง เข้าไปใกล้อสุรินทราหู แล้วกล่าว ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ บัดนี้ เป็นสมัยที่จะประชุมกัน ดังนี้แล้ว เข้าไปยังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ
เทวนิกาย ในเวลานั้น เทวดาทั้งหลาย ชื่ออาโป ชื่อปฐวี ชื่อเตโช ชื่อวาโย ได้พากันมาแล้ว เทวดา ชื่อวรุณะ ชื่อวารุณะ ชื่อโสมะ ชื่อยสสะ ก็มาด้วยกัน เทวดาผู้บังเกิดในหมู่เทวดาด้วยเมตตาและกรุณาฌาน เป็นผู้มียศ ก็มา หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุม ของภิกษุ เทวดา ชื่อเวณฑู ชื่อสหลี ชื่ออสมา ชื่อยมะ ทั้งสองพวก ก็มา เทวดาผู้อาศัยพระจันทร์ กระทำพระจันทร์ไว้ในเบื้องหน้าก็มา
เทวดาผู้อาศัยพระอาทิตย์ กระทำพระอาทิตย์ไว้ในเบื้องหน้าก็มา เทวดากระทำนักษัตรไว้ใน เบื้องหน้าก็มา มันทพลาหกเทวดาก็มา แม้ท้าวสักกปุรินททวาสวะ ซึ่งประเสริฐกว่าสุเทวดาทั้งหลายก็เสด็จมา
หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์มีอานุภาพมีรัศมี ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ อนึ่งเทวดาชื่อสหภูผู้รุ่งเรืองดุจเปลวไฟก็มา เทวดาชื่ออริฏฐกะ ชื่อโรชะ มีรัศมีดังสีดอกผักตบก็มา เทวดาชื่อวรุณะ ชื่อสหธรรมชื่ออัจจุตะ ชื่ออเนชกะ ชื่อสุเลยยะ ชื่อรุจิระก็มา เทวดา ชื่อวาสวเนสีก็มา
หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมด ล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมีมียศ ยินดี มุ่ง มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ เทวดาชื่อสมานะ ชื่อ มหาสมานะ ชื่อมานุสะ ชื่อมานุสุตตมะ ชื่อขิฑฑาปทูสิกะ ก็มา เทวดาชื่อมโนปทูสิกะก็มา อนึ่ง เทวดาชื่อหริ เทวดาชื่อโลหิต วาสี ชื่อปารคะ ชื่อมหาปารคะ ผู้มียศ ก็มา
หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวกทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ เทวดา ชื่อสุกกะ ชื่อกรุมหะ ชื่ออรุณะ ชื่อเวฆนสะก็มาด้วยกันเทวดาชื่อโอทาตคัยหะ ผู้เป็นหัวหน้า เทวดาชื่อวิจักขณะ ก็มา เทวดาชื่อสทามัตตะ ชื่อหารคชะ และชื่อมิสสกะ ผู้มียศ ก็มา ปชุนนเทวบุตร ซึ่งคำรามให้ฝนตกทั่วทิศก็มา
หมู่เทวดา๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุเทวดาชื่อเขมิย ะ เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นยามะ และเทวดาชื่อกัฏฐกะ มียศ เทวดาชื่อลัมพิตกะ ชื่อลามเสฏฐะ ชื่อโชตินามะ ชื่ออาสา และเทวดาชั้นนิมมานรดีก็มา อนึ่ง เทวดาชั้นปรนิมมิตะก็มา
หมู่เทวดา ๑๐เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ หมู่เทวดา ๖๐เหล่านี้ ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มาแล้วโดยกำหนดชื่อ และ เทวดาเหล่าอื่นผู้เช่นกัน มาพร้อมกันด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจัก เห็นพระนาคผู้ปราศจากชาติ ไม่มีกิเลสดุจตะปู มีโอฆะอัน ข้ามแล้ว ไม่มีอาสวะข้ามพ้นโอฆะ ผู้ล่วงความยึดถือได้แล้ว ดุจพระจันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น. ฯ
พรหมนิกาย
สุพรหมและปรมัตตพรหม ซึ่งเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าผู้มี ฤทธิ์ ก็มาด้วย สนังกุมารพรหม และติสสพรหมแม้นั้น ก็มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ท้าวมหาพรหมย่อมปกครอง พรหมโลกพันหนึ่ง ท้าวมหาพรหมนั้นบังเกิดแล้วในพรหมโลก มีอานุภาพ มีกายใหญ่โต มียศ ก็มา
พรหม๑๐ พวก ผู้เป็น อิสระในพวกพรหมพันหนึ่ง มีอำนาจเป็นไปเฉพาะองค์ละอย่างก็มา มหาพรหมชื่อหาริตะ อันบริวารแวดล้อมแล้ว มาในท่ามกลางพรหมเหล่านั้น มารเสนา ได้เห็นพวกเทวดา พร้อมทั้ง พระอินทร์ พระพรหมทั้งหมดนั้น ผู้มุ่งมา ก็มาด้วย แล้วกล่าวว่าท่านจงดูความเขลาของมาร พระยามารกล่าวว่า พวกท่านจงมาจับ เทวดาเหล่านี้ผูกไว้ ความผูกด้วยราคะ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงล้อมไว้โดยรอบ อย่าปล่อยใครๆ ไป พระยามารบัง คับเสนามารในที่ประชุมนั้นดังนี้แล้ว เอาฝ่ามือตบแผ่นดิน กระทำเสียงน่ากลัว เหมือนเมฆยังฝนให้ตก คำรามอยู่ พร้อมทั้ง ฟ้าแลบ ฉะนั้น เวลานั้น พระยามารนั้นไม่อาจยังใครให้เป็นไป ในอำนาจได้ โกรธจัด กลับไปแล้ว พระศาสดาผู้มีพระจักษุทร พิจารณาทราบเหตุนั้นทั้งหมด แต่นั้น จึงตรัสเรียกสาวกผู้ ยินดีในพระศาสนาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารเสนามาแล้ว พวกเธอจงรู้จักเขา
ภิกษุเหล่านั้นสดับพระดำรัสสอนของพระ พุทธเจ้าแล้ว ได้กระทำความเพียร มารและเสนามารหลีกไป จากภิกษุผู้ปราศจากราคะ ไม่ยังแม้ขนของท่านให้ไหว (พระยามารกล่าวสรรเสริญว่า) พวกสาวกของพระองค์ทั้งหมดชนะ สงครามแล้ว ล่วงความกลัวได้แล้ว มียศปรากฏในหมู่ชนบันเทิงอยู่กับด้วยพระอริยเจ้า ผู้เกิดแล้วในพระศาสนา ดังนี้แล. ฯ
จบมหาสมัยสูตร

ธารณปริตต์แปล

๑.    อันชีวิตแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อันใครๆ ไม่อาจทำอันตรายได้ฉันใด
ขอชีวิตความเป็นอยู่แห่งข้าพเจ้า จงเป็นเหมือนเช่นกัน อันว่าญาณที่ไม่มีเครื่องกระทบของพระพุทธเจ้าผู้มีบุญมีย่อมมีในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน
              ๒.    อันว่ากายกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ  อันว่าวจีกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ  อันว่ามโนกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ
              ๓.    อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของประโยชน์ที่ประสงค์ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๖ ประการเหล่านี้ อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งการแสดงธรรม ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของความเพียร ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของวิปัสสนาญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งกามาวจรและรูปาวจรวิมุตติ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
              ๔.    อันว่าการพูดเล่น ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ผู้ประกอบด้วยคุณธรรมทั้งหลาย ๑๒ ประการเหล่านี้ อันว่าการพูดพลั้งเผลอโดยขาดสติ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าความไม่แพร่หลายในเญยยะธรรม ๕ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าการกระทำใดๆ อย่างผลุนผลัน โดยไม่การพิจารณาเสียก่อน ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าความมีใจวุ่นวายด้วยกิเลส ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าการกระทำที่ไม่มีอุเบกขาในเตภูมิสังขาร ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
              ๕.    อันว่าความเคารพนอบน้อม ขอจงมีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๑๘ ประการเหล่านี้ อันว่ากายทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต อันว่าวจีทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
อันว่ามโนทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอดีต อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในปัจจุบัน อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอนาคต อันว่ากายกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าวจีกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่า ธารณปริตร นี้ ไม่มีเครื่องเทียบ ไม่มีเครื่องเสมอเหมือน เป็นที่ต่อต้าน เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์ ผู้ที่กลัวภัยในสังสารวัฏทั้งหลาย อัคคัง ประเสริฐ มหาเตชัง มีเดชมาก
              ๖.    ดูกรอานนท์ ท่านจงท่องจดจำ สอบถาม ซึ่งธารณปริตรนี้ อันว่ากายของผู้ท่องสวดมนต์ธารณปริตรนี้ ไม่พึงตายด้วยพิษงู พิษนาค ไม่พึงตายในน้ำ อันว่าไฟไม่พึงไหม้เป็นผู้พ้นภัยพิบัติต่างๆ ใครคิดทำร้ายในวันเดียวก็ไม่สำเร็จ ใครคิดร้ายทำลายในสองวัน สามวัน สี่วัน...ก็ไม่สำเร็จ ไม่พึงเป็นโรคหลงลืม ไม่พึงเป็นบ้าใบ้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย ไม่สามารถเบียดเบียนได้
              ๗.    อันว่าธารณปริตรนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ คือ ชาโล มีอานุภาพเหมือนพระอาทิตย์ ประชุมกัน ๗ ดวง ที่ขึ้นมาในเวลาโลกาพินาศ มหาชาโล มีอานุภาพเหมือนมุ้งเหล็ก ที่สามารถป้องกันภัยจาก เทวดา อินทร์ นาค ครุฑ ยักษ์ เป็นต้น ชาลิตเต มีอานุภาพประหารศัตรูทั้งหลาย มหาชาลิตเต มีอานุภาพให้พ้นจากกัปทั้ง ๓ คือ โรคันตรกัป, สัตถันตรกัป และทุพภิกขันตรกัป มีอานุภาพให้พ้นจากโลกต่างๆ ในเวลาปฏิสนธิคือ การเป็นใบ้ เป็นพิการ เป็นคนหูหนวก อีกทั้งไม่พึงตกต้นไม้ ตกเหว ตกเขาตาย สามารถได้สมบัติที่ยังไม่ได้ ทรัพย์สมบัติที่ได้มาแล้วก็จะเจริญขึ้นโดยความเป็นจริง สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง
              ๘.    ดูกรอานนท์ อันธารณปริตร ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตรัสไว้พึงสมาคมคนดี ไม่พึงสมาคมคนชั่ว พึงนำมาซึ่งกลิ่นและรสอันเป็นธรรม พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจดี ไม่พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจร้าย พึงทำกายให้เป็นกายดี พึงนำมาแต่สิ่งอันเป็นกุศล ไม่ถึงนำมาซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล พึงฟังแต่สิ่งที่ดีไม่พึงฟังสิ่งที่ไม่ดี พึงเห็นแต่นิมิตดี ไม่ถึงเห็นนิมิตร้าย โยรุกเข ต้นไม้ที่ตายแล้วสามารถฟื้นขึ้นมาได้ มหาโยรุกเข ต้นไม้ที่ยังเป็นอยู่ ก็ทำให้เจริญงอกงามโดยความเป็นจริง สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง
              ๙.    ดูกรอานนท์ อันธารณปริตรนี้ สามารถรู้ความคิดร้ายของผู้อื่น อาวุธต่างๆ มีเครื่องประหาร เช่น มีด หอก ปืน ไฟ เป็นต้น ไม่สามารถทำอันตรายได้ มันติลา สามารถทำน้ำมนต์คาถา ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น สามารถประหารโรคต่างได้ และโรคร้ายแรงต่างๆ ไม่อาจทำอันตรายได้ ทุพพิลาสามารถหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด ด้วยอำนาจแห่งสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเถิด


ความหมายของธัมมะจักรกัปปะวัตนะสูตร

          ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระปัญญจวัคคีย์อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ เหล่าอย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใดเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ คือประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตน เหล่านี้ใด ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อ ความดับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นเป็นไฉน ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ  การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ ความตั้งจิตชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อ ปฏิบัติที่เป็นกลางนั้น ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้  ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ  แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์  แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์  แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์  แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์  ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์   ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์  มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์  ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ ความทะยานอยากนี้ใด  ทำให้มีภพอีก   เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอนาจความเพลิดเพลิน เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ   ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ  ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ ความทะยานอยากในความมีความเป็น  ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์  ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด  ความสละตัณหานั้น   ความวางตัณหานั้น  การปล่อยตัณหานั้น   ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ   ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง   ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ  ความดำริชอบ  วาจาชอบ  การงานชอบ  ความเลี้ยงชีวิตชอบ   ความเพียรชอบ  ความระลึกชอบ   ความตั้งจิตชอบ
          ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า นี่เป็นทุกข์อริยสัจ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้  ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล  เราได้กำหนดรู้แล้ว
          ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ  ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล ควรละเสีย  ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล เราละได้
          ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจ  ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง  ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว
          ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล ควรให้เจริญ  ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล อันเราเจริญแล้ว
          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปพร้อมด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ทั้งในสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ๔ เหล่านี้ของเรา มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญา เครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งในสมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์   ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว  ว่า การพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก  พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว พระภิกษุปัจจวัคคีย์ก็มีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ก็แล เมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่  จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณทัญญะ ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา"  ก็เมื่อธรรมจักรอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว
          เหล่าภูมิเทวดา ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น พรหมเจ้าที่เกิดในชั้นพรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า   "นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ดังนี้ ฯ" โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ฯ   ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป   ทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก   ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ  ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า   
          โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ   เพราะเหตุนั้น นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นเทียว ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แล ฯ