วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หน้าที่ของชาวพุทธ

หน้าที่ของชาวพุทธ (โดยย่อ)
๑.   คันถธุระ ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนหลักธรรมต่างๆ ทั้งจากคัมภีร์ บุคคล ตัวเอง
๒.   วิปัสสนาธุระ  ได้แก่การลงมือปฏิบัติตามหลักธรรม หรือหลักทฤษฎีที่ตนศึกษามา
วิถีทางแห่งชีวิต
เส้นทางที่ ๑   ไปนรก  เพราะอารมณ์โทสะ
เส้นทางที่ ๒   ไปเปรต อสุรกาย  เพราะโลภะ
เส้นทางที่ ๓   ไปสัตว์ดิรัจฉาน เพราะโมหะ
เส้นทางที่ ๔   ไปมนุษย์  เพราะศีล ๕ และกุศลกรรมบถ ๑๐
เส้นทางที่ ๕   ไปสวรรค์ เพราะมหากุศลจิต ๘ ดวง  มีหิริ และโอตตัปปะ เป็นหัวหน้า
เส้นทางที่ ๖   ไปพรหมโลก ๒๐ ชั้น  เพราะเจริญสมถะ ๔๐ จนได้บรรลุปฐมฌานไป
เส้นทางที่ ๗   ไปนิพพาน  เพราะเจริญวิปัสสนาขั้นปรมัตถ์  มี รูป-นาม เป็นอารมณ์
วิธีบรรเทาความโกรธ
        ๑.   โยนิโสมนสิกาโร  ทำไว้ในใจโดยอุบายที่แยบคาย
        ๒.   เมตฺตา  เจริญเมตตาจนได้ฌาน
        ๓.   เจโตวิมุตฺติ  เจริญภาวนาจนจิตหลุดพ้น
        ๔.   เมตฺตานิมิตฺตสฺส  อุคฺคโห  เรียนวิธีแผ่เมตตา
        ๕.   เมตฺตาภาวนานุโยโค  ภาวนาบ่อยๆ
        ๖.   กมฺมสฺสกตาปจฺจเวกฺขณา  พิจารณากรรมของตน
        ๗.   ปฏิสงฺขานพหุลีกตา  พิจารณากรรมของตนและผู้อื่นให้บ่อยๆ
        ๘.   กลฺยาณมิตฺตตา  คบแต่คนดี
        ๙.   สปฺปายกถา  สนทนาคำที่ดี  ก่อให้เกิดเมตตา

ลักษณะของกัลยาณมิตร
๑.   สทฺธาสมฺปนฺโน   ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
        ๒.   สีลสมฺปนฺโน      ถึงพร้อมด้วยศีล
                ๓.   สุตาสมฺปนฺโน    ถึงพร้อมด้วยสุตะ (การฟัง)
                        ๔.   จาคสมฺปนฺโน     ถึงพร้อมด้วยจาคะ
                        ๕.   วิริยสมฺปนฺโน     ถึงพร้อมด้วยความเพียร
                ๖.   สติสมฺปนฺโน      ถึงพร้อมด้วยสติ
        ๗.   สมาธิสมฺปนฺโน   ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
๘.   ปญฺญาสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยปัญญา

ลักษณะของสัตตบุรุษ
                        ๑. รู้เหตุ      
                                ๒. รู้ตน               
                                        ๓. รู้ประมาณ 
                                                ๔. รู้กาล      
                                                        ๕. รู้ประชุม   
                                                                ๖. รู้จักเลือกคบบุคคล
                                                                        ๗. รู้จักศรัทธา

นิวรณ์
        “เวยฺยคฺคปญฺจมํ  หนฺตวา  อนีโฆ  ยาติ  พฺราหฺมโณ.  แปลว่า ผู้ใดฆ่านิวรณ์มีวิจิกิจฉานิวรณ์  เช่นกันกับหนทางที่เสือโครงเที่ยวไปเป็นที่ ๕ ได้แล้ว  ผู้นั้นเป็นผู้ลอยบาป  ละบาปได้  ไม่มีทุกข์ ไปอยู่ ดังนี้.”
        นิวรณ์ คือธรรมเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง  มี ๕ อย่าง คือ
        ๑.   กามฉันทะ               พอใจในกามคุณ ๕
        ๒.   พยาบาท                ปองร้ายผู้อื่น
        ๓.   ถีนมิทธะ                 ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
        ๔.   อุทถัจจะกุกกุจจะ                ฟุ้งซ่านรำคาญ
        ๕.   วิจิกิจฉา                 ลังเลสงสัย

คุณธรรมที่ละความสงสัยได้
๑.  พหุสฺสุตา                  ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมามาก
๒.  ปริปุจฺฉกตา              เป็นผู้หมั่นสอบถาม
๓.  วินเย  ปกตญฺญุตา       เป็นชำนาญในพระวินัย
๔.  อธิโมกฺขพหุลตา          เชื่อมั่นในทางที่ดี
๕.  กลฺยาณมิตฺตตา           สมาคมกับคนดี
๖.  สปฺปายกถา               สนทนาธรรมที่สบาย
๗.  กุสลาทิโยนิโสมนสิกาโร          สนใจอุบายที่แยบคาย



กิเลส ๑๐ (หยาบ, กลาง, ละเอียด)
๑.  โลภะ
        ๒.  โทสะ
๓.  โมหะ
๔.  มานะ
                                ๕.  ทิฏฐิ
                                        ๖.  วิจิกิจฉา
                                                ๗.  ถีนะ  คืออาการท้อใจ
                                        ๘.  อุทธัจจะ  คืออาการฟุ้งซ่าน
                                ๙.  อหิริกะ
                        ๑๐.  อโนตตัปปะ

สังโยชน์ ๑๐
๑.   สกฺกายทิฏฺฐิ
        ๒.  วิจิกิจฉา
                ๓.  สีลัพพตปรามาส
                        ๔.  กามราคะ
                                ๕.  ปฏิฆะ
                                        ๖.  รูปราคะ
                                                ๗.  อรูปราคะ
                                                        ๘.  มานะ
                                                                ๙.  อุทธัจจะ

                                                                        ๑๐.  อวิชชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น