วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

สายน้ำ: จุดกำเนิดชีวิตและภูมิทัศน์วัฒนธรรม



เกรียงไกร  เกิดศิริ.  (2551). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : อุษาคเนย์. หน้า 52-53
“สายน้ำ: จุดกำเนิดชีวิตและภูมิทัศน์วัฒนธรรม”
          ในโลกนี้ประกอบด้วยน้ำสามในสี่ส่วน  จึงถือว่าน้ำเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่งสำหรับการเลือกที่ตั้งถิ่นฐานของคนในอดีต  มักเลือกพื้นที่ที่มีน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค  ถ้าไม่ตั้งถิ่นฐานในที่ที่มีแหล่งน้ำสำหรับการใช้สอยก็จะมีภูมิปัญญาในการแสวงหาแหล่งน้ำมาใช้สอยได้ทุกชาติพันธุ์  คนไทยมีความใกล้ชิดกับน้ำมากจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้  น้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกพื้นที่ในการตั้งชุมชนขึ้น  และที่สำคัญที่สุด คือการทำนาข้าวที่ต้องการน้ำในปริมาณมาในการเพาะปลูก  สำหรับพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การทำนาข้าว  คือ ที่ราบลุ่มดินตะกอนปากแม่น้ำซึ่งเป็นที่ราบลุ่มที่มีความลาดชันน้อย  ซึ่งเป็นเหตุให้มีน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากทุกๆ ปี  ผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้จึงต้องหาทางออกที่จะอยู่ร่วมกับความผันผวนของธรรมชาติ  ด้วยการเรียนรู้และแก้ปัญหาวิธีต่างๆ จนสั่งสมกลายเป็นภูมิปัญญาเฉพาะท้องถิ่นจำนวนมากมาย  ผลลัพธ์ของการดำเนินชีวิตและการจัดการเหล่านี้เองที่กลายเป็น “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม”  วิถีชีวิตของผู้คนริมคลอง  นิยมใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม  และการอุปโภค  แต่น้ำสำหรับบริโภคจะรองน้ำฝนใส่ตุ่มที่วางเรียงรายอยู่หน้าบ้าน  สะพานที่ยื่นออกมาทำหน้าที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายจากบ้านสู่เรือที่ลอยอยู่หน้าบ้าน  นอกจากนี้สะพานยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่เอนกประสงค์สำหรับนั่งกินลมชมวิว พบปะพูดคุยกับเพื่อนบ้านยามเย็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น