วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

สาเหตุแห่งการแตกนิกายของศาสนา



สุนทร  ณ รังษี. (2550). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์          มหาวิทยาลัย. หน้า 4-5
“สาเหตุแห่งการแตกนิกายของศาสนา”
          สาเหตุสำคัญที่ทำให้ศาสนาแตกแยกออกเป็นนิกายก็คือ  ศาสนาเป็นเรื่องของมนุษย์  มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีกิเลสอยู่โดยธรรมชาติ  กิเลสที่มนุษย์มีต่างกันและมากน้อยกว่ากัน  เมื่อมนุษย์มีความรู้  ความคิดต่างกันก็เป็นเหตุให้มนุษย์มีความคิด  ความเชื่อ  และการกระทำแตกต่างกันย่อมนำไปสู่การแตกแยกนิกายของศาสนา  แม้ทุกศาสนาจะส่งเสริมให้คนเป็นคนดี  แต่คำสอนเหล่านี้ก็ยากที่เข้าถึง และต้านกระแสกิเลสของผู้คนได้  ในพระพุทธศาสนาพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าได้ทรงเสนอหลักปฏิบัติที่จะก่อให้เกิดความสามัคคีของบุคคลที่อยู่ร่วมกันไว้ เรียกว่า สาราณียธรรม  แปลว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง  มี 6 ประการ คือ เมตตากายกรรม  เมตตาวจีกรรม  เมตตามโนกรรม  สาธารณโภคี  ได้แก่ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันสิ่งของสำหรับบริโภคและอุปโภคที่ได้มาให้แก่ผู้อื่นตามความเหมาะสม  สีลสามัญญตา  ได้แก่ ความเป็นผู้มีศีลหรือความประพฤติเสมอกันหรือลงรอยกันกับผู้อื่น  ไม่ประพฤติตนผิดแผกแปลกจากผู้อื่น  ทิฏฐิสามัญญตา  ได้แก่  ความเป็นผู้มีทิฏฐิหรือความคิดเห็นลงรอยกับผู้อื่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับหลักการหรือหลักคำสอนที่สำคัญที่หมู่คณะยอมรับและยึดถือปฏิบัติสืบๆ กันมา  ในทัศนะของพุทธปรัชญา  สาเหตุที่ส่งผลให้เกิดการแตกเป็นนิกายต่าง ๆ มีอยู่ 2 สาเหตุ คือ ขาดสีลสามัญญตา และขาดทิฏฐิสมัญญตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น