วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

วิธีวิเคราะห์ข้อมูลขั้นพื้นฐาน



สุภางค์  จันทวานิช. (2546).  การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ.  พิมพ์ครั้งที่ 5,  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์       แห่งจุฬาลงกรณ์     มหาวิทยาลัย. หน้า 69-73
“วิธีวิเคราะห์ข้อมูลขั้นพื้นฐาน”
        การจำแนกประเภทข้อมูล คือการจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือประเภท  โดยใช้เกณฑ์บางอย่างตามคุณลักษณะที่ข้อมูลนั้นมีอยู่ร่วมกันเป็นตัวจำแนก  เพื่อมองจากแง่ของการวิจัย  ประเด็นที่เราควรพิจารณาในเรื่องการจำแนกชนิดของสิ่งต่างๆ มีได้สองประการ  ได้แก่ อิทธิพลของวัฒนธรรมต่อการจำแนกและระดับของการรับรู้ลักษณะของสิ่งต่างๆ กับการจำแนก ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการจำแนกประเภทสิ่งต่างๆ เราต้องคำนึงถึงว่าปรากฏการณ์สังคมที่จะศึกษานั้นเป็นข้อมูลทางวัฒนธรรม  การจำแนกสิ่งต่าง ๆ จึงขึ้นอยู่กับการให้ความหมายแก่สิ่งนั้นและการเชื่อมโยงสิ่งนั้นกับสิ่งอื่น  การจำแนกประเภทของคนเราขึ้นอยู่กับระบบความคิดและวัฒนธรรมของสังคมนี้เอง  ทำให้แต่ละสังคมมีวิธีการจำแนกที่ไม่เหมือนกัน  เกิดการจำแนกชนิดแบบคนในหรือแบบชาวบ้าน (folk domain) ขึ้น  ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในระบบความคิดของคนและกำหนดให้เขาจำแนกสิ่งต่างๆ ดังที่เขารับรู้และเข้าใจ  การจำแนกประเภทข้อมูลทำได้ในหลายระดับตั้งแต่ระดับเล็กสุดคือคำหรือถ้อยความ  จนถึงระดับใหญ่สุด  คือเหตุการณ์หรือกลุ่มคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้วิจัยกำลังวิเคราะห์ข้อมูลที่ระดับไหน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น