วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับการตั้งถิ่นฐานบนที่ลาดชัน



เกรียงไกร  เกิดศิริ.  (2551). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : อุษาคเนย์. หน้า 56-57
“ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับการตั้งถิ่นฐานบนที่ลาดชัน”
        การสร้างที่พักอาศัยของคนไทย  หรือกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ไม่เฉพาะจะมีที่อยู่อาศัยในที่ราบลุ่มริมแม่น้ำที่ดำเนินชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับน้ำจนมีการปรับตัวและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบการสร้างที่พักอาศัยที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของไทย เช่นการสร้างเรือนยกพื้นสูง  เรือนแพลอยน้ำ เป็นต้นก็ตาม   แต่สำหรับผู้คนที่อาศัยอยู่บนที่ราบสูง ในพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก  ได้มีการเรียนรู้สภาพภูมิประเทศ จนในที่สุดสามารถปรับประยุกต์ออกแบบเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยอย่างชาญฉลาด โดยไม่แตกต่างจากผู้ทีอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำแต่อย่างได
          เนื่องจากคนบนที่ราบสูงที่อาศัยอยู่บนที่ลาดภูเขา  มีการปรับตัวเพื่ออยู่อาศัยในพื้นที่มี 2 ลักษณะ คือ 1. ปรับสภาพพื้นที่ให้มีที่ราบเพียงพอสำหรับการปลูกสร้างอาคาร 2. สร้างบ้านเรือนอยู่บนเสาสูง  ซึ่งคล้ายกับผู้ที่อยู่อาศัยในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง  การปรับสภาพพื้นที่อยู่อาศัยของคนในที่ราบสูงจะปรับพื้นที่แต่พอสามารถสร้างที่พักได้เท่านั้น และสำหรับไว้ใช้สอย เช่นการเพาะปลูกที่พอเพียง  เพราะถ้ามีการสร้างใหญ่เกินไป  นั่นหมายถึงการสูญเสียด้านทรัพยากรและแรงงานโดยใช่เหตุ  รวมถึงการสร้างที่พักที่วางแนวขนานไปกับเส้นแนวระดับของพื้นที่  สำหรับการสร้างเรือนบนเสาสูงเป็นการสร้างคร่อมพื้นที่ลาดชันของพื้นที่  ทำให้ไม่ต้องปรับแต่งพื้นที่ และไม่เป็นการขวางการระบายน้ำผิวดินในยามที่มีน้ำหลากอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น