วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

เพื่อนบ้าน



จิตร  ภูมิศักดิ์. (2554). ตำนานแห่งนครวัด. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์. หน้า 72-79
“เพื่อนบ้าน”
        นครวัดภายใต้แสงเดือน  เป็นภาพที่งามตราตรึงจิตใจที่แสดงถึงความแข็งแรง  นครวัดไม่มีช่อฟ้าอันอ่อนช้อยอย่างโบสถ์วิหารของไทย เหมือนสำนวนว่า “ช่อฟ้าชวนฟ้าชำเลือง” นครวัดมีแต่โดมที่หนัก  แข็ง ทึบ และทระนง แฝงไว้ด้วยบรรยากาศที่ลึกลับน่าเกรงขาม  ในบริเวณลานชั้นในของกำแพงนครวัด  มีวัดอยู่สองวัด  พอพลบค่ำพระสงฆ์ก็ขึ้นไปจุดตะเกียงน้ำมันบูชาพระพุทธรูปในคูหาปรางค์องค์ยอด  บางคืนมีการท่องบ่นสาธยายมนต์ข้างบนระเบียงปราสาท แสงไฟดวงน้อยที่ส่องแสงจากโดมปรางค์ คือวิญญาณของชาติ และประชาชนเขมรที่เริ่มฉายปรากฏขึ้นหลังจากที่เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจในอดีต แต่รูปร่างหน้าตาคนไทยกับกัมพูชาคล้ายกัน  มีศาสนาเดียวกัน  ขนบธรรมเนียมประเพณี  ความเชื่อถือ  และตลอดจนความเป็นอยู่ของเราคล้ายกัน ทำให้รู้สึกว่าไทยกับกัมพูชาสนิทในเหมือนพี่น้อง หรือที่ภาษาเขมรว่า “ขแมร์-ไทย  บอง  ผะโอน  คะเนีย” แปลว่า เขมรไทยพี่น้องกัน คำว่าผอูนหรือผโอนเป็นคำเขมรสมัยใหม่ เขมรสมัยโบราณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 เขียนเป็น ผอวน  ร่องรอยที่แสดงว่าชาวกัมพูชาและชาวไทยในภาคอีสานมีความสนิทสนมกันนั้นยังมีอีกหลายอย่าง เช่นมีปราสาทหินแบบเขมรกระจายอยู่เกลื่อนทั้งภาคอีสาน ซึ่งแสดงถึงขอมโบราณเคยตั้งรกรากอยู่มาก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น