วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

การตรวจสอบข้อมูล



สุภางค์  จันทวานิช. (2546).  วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 11 , กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์          มหาวิทยาลัย.  หน้า 129-130
“การตรวจสอบข้อมูล”
        การตรวจสอบข้อมูลที่ใช้กันมากในการวิจัยเชิงคุณภาพคือการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) มี การตรวจสอบด้านข้อมูล (Data triangulation) คือการพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ได้มานั้นถูกต้องหรือไม่ เป็นการตรวจสอบแหล่งข้อมูลได้แก่ แหล่งเวลา  หมายถึงว่าถ้าข้อมูลต่างเวลากันจะเหมือนกันหรือไม่  แหล่งสถานที่  หมายถึงถ้าข้อมูลต่างสถานที่กันจะเหมือนกันไหม  และแหล่งบุคคล  หมายถึงถ้าบุคคลผู้ให้ข้อมูลเปลี่ยนไป  ข้อมูลจะเหมือนเดิมหรือไม่  การตรวจสอบด้านผู้วิจัย (Investigator Triangulation) คือตรวจสอบว่าผู้วิจัยแต่ละคนได้ข้อมูลต่างกันหรือเหมือนกัน  โดยเปลี่ยนผู้สังเกตแทนที่จะใช้คนเดียวกันสังเกต  ในกรณีที่ไม่แน่ใจในคุณภาพของผู้รวบรวมข้อมูลภาคสนาม  การตรวจสอบด้านทฤษฎี (Theory Triangulation) คือถ้าผู้วิจัยใช้แนวคิดทฤษฎีที่ต่างจากเดิมจะทำให้การตีความข้อมูลแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจทำได้ง่ายกว่าในระดับสมมติฐานชั่วคราว ตรวจสอบด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological Triangulation) คือการใช้หลายวิธีในการเก็บข้อมูล แต่เป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน เช่นสังเกตควบคู่กับการถาม  หรืออาจใช้วิธีการถกเถียงและซักถามผู้ให้ข้อมูลสำคัญ หรือไม่ก็ให้เขาอ่านงานที่เขียนเสร็จแล้วเพื่อทบทวนการตีความของเขาว่ามีความเที่ยวตรงตามที่คนอื่นยึดถือหรือไม่แล้วจึงแก้ไขเป็นฉบับสมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น