วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ความสัมพันธ์ทางสังคมไทยในพระพุทธปรัชญา



บุญมี  แท่นแก้ว. (2536). ปรัชญาศาสนา. พิมพ์ครั้งที่. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.  หน้า. ๙๑
                                 “ความสัมพันธ์ทางสังคมไทยในพระพุทธปรัชญา”
        โดยธรรมชาติมนุษย์ชอบรวมกันเป็นกลุ่มเป็นพวก ดังนั้นหลักคุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจสร้างสามัคคีธรรม เพื่อความเจริญของประเทศชาติ พระพุทธศาสนาสอนให้เคารพในบุคลและสังคม ผู้เจริญในธรรมอาศัยธรรมที่ตนมีอยู่ ผู้เจริญโดยชาติอาศัยชาติตระกูล ผู้เจริญโดยวัยอาศัยอายุ คำสอนของพระพุทธศาสนาปฏิบัติได้จริงๆและเห็นผลจริงๆพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทกรรมนิยม ผู้ที่นับถือจะต้องเชื่อในการกระทำของตนเองอย่าเชื่อเรื่องโชคลางต้องการให้เกิดผลจะต้องกระทำจริงๆปฏิบัติจริงๆจึงเรียกพระพุทธศาสนาอีกชื่อหนึ่งว่าเป็นศาสนาประเภทปฏิบัตินิยม ผลที่ได้ปฏิบัติเพราะการปฏิบัติการประการงาน การทำหน้าที่ตัวเอง จะอาศัยผู้อื่นหรือสิ่งอื่นนอกจากตัวเองไม่ได้ เป็นการสอนไม่ให้ชาวพุทธเกียจคร้าน บากบั่นพากเพียรอยู่เสมอ อย่าประมาท เพราะความประมาทเป็นหนทางแห่งหายนะ ความเสื่อม ต้องมีสติตื่นอยู่เสมอจึงได้นามว่า ชาวพุทธ อย่างแท้จริง ธรรมเพื่อเป็นสมบัติความเป็นมนุษย์หรือคนดี ธรรมเพื่อดำเนินชีวิตให้งอกงามบรรลุประโยชน์สุข ธรรมที่เตือนสติไม่ประมาท ธรรมที่ส่งเสริมชีวิตที่ดีร่วมกัน ธรรมเพื่อการปรกครอง ธรรมเพื่อชีวิตครอบครัวสำหรับผู้ครองเรือน ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น