วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ



ผ่องพรรณ  ตรัยมงคลกูล. (2544). การวิจัยในชั้นเรียน.  พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 27-29
“การวิจัยเชิงปฏิบัติการ”
        Action  research ตรงกับภาษาไทยที่มีความใกล้เคียงมากที่สุดและใช้อย่างแพร่หลาย คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งสื่อกิจกรรมว่าประกอบด้วย การวิจัย (การค้นหาคำตอบอย่างมีระบบแบบแผน  เชื่อถือได้) และปฏิบัติ (การนำแผนไปทดลองปฏิบัติในสถานการณ์จริง เพื่อยืนยันผล) Kurt Lewin เป็นผู้นำมาใช้เป็นครั้งแรก นิยามลักษณะสำคัญของการวิจัยประเภทนี้มี 4 ประการ คือ 1. เป็นการวิจัยเชิงอัตวิพากษ์ (Self-reflective inquiry) กล่าวคือ การมองสะท้อนกลับสภาพการณ์ หรือปัญหาที่ตนเผชิญอยู่  2. เป็นการวิจัยที่ดำเนินการโดยคนใน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมรับผลโดยตรงในหน่วยงานหรือชุมชนนั้น 3. เป็นการวิจัยเพื่อหวังผลในการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติในหน่วยงานนั้น และ 4. เป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อ 3 คือเป็นการทดสอบวิธีการปฏิบัติจริงในสถานที่จริงโดยทันที  ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการวิจัยเชิงปฏิบัติการคือ ความรู้สึกตระหนักในปัญหา และเป็นการจำกัดขอบเขตและมุ่งผลภายในหน่วยงานหรือชุมชนที่ทำการวิจัย โดยมีกระบวนการ 3 อย่างคือ 1. การวางแผนที่ได้จากการวิเคราะห์แล้ว 2. การปฏิบัติ และ 3. การประเมินผลการปฏิบัติ  ทั้งนี้ลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ คือวงจรของการวิจัย ที่อาจต่อเนื่องเหมือนเกลียว นั่นก็หมายความว่า ผลจากการประเมินอานนำไปสู่การวางแผนและทดลองปฏิบัติใหม่ จนกว่าจะสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น