วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักจริยธรรมในสังคม



ทองหล่อ  วงษ์ธรรมา. (2538). ปรัชญาจีน. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า. 56-62
“หลักจริยธรรมในสังคม”
        ความสัมพันธ์ขั้นมูลฐานในสังคมนั้น ขงจื้อกล่าวไว้ 5 ประการ คือ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง เป็นความสัมพันธ์ที่กษัตริย์พึงปฏิบัติต่อขุนนางและประชาชนด้วยความเมตตาและซื่อสัตย์สุจริต 2. ความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตร 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้อง 5. ความสัมพันธ์ระหว่างมิตรกับมิตร ความสัมพันธ์ในข้อ 2-3 เป็นความสัมพันธ์ที่จัดอยู่ในระดับครอบครัวทั้งสิ้น จากหลักความสัมพันธ์ขั้นมูลฐานนั้นก็นำไปสู่ผลคือ มีความสุภาพ  ความโอบอ้อมอารี  ความจริงใจ  ความตั้งใจจริง  ความเมตตากรุณา  สังคมจะมีความสุขได้ต้องอาศัยการปรับปรุงความสัมพันธ์ ซึ่งสามารถแยกเป็นจริยธรรมทางกาย คือการปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด  จริยธรรมทางใจ คือหลักปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตใจ มีความรักความเมตตาปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข  สัมมาปฏิบัติที่มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด  จากหลักปฏิบัติดังกล่าวขงจื้อมองว่ามีความยาก  จึงได้วางหลักการปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตใจข้างต้น คือปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนกับท่านปรารถนาจะให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน  และจงอย่าปฏิบัติต่อผู้อื่นในสิ่งที่ท่านไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น