วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ฮีตสิบสอง



สำลี  รักสุทธี. (2553)ฮีตสิบสองคลองสิบสี่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ พ.ศ. วัฒนา จำกัด. หน้า 9-121
“ฮีตสิบสอง”
          คำว่า ฮีต เป็นภาษาไทยอีสาน หมายถึง จารีตประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งจะต้องมีการถือปฏิบัติ แม้กระทั้งในด้านประเพณีวัฒนธรรมก็ต้องมีหลักปฏิบัติที่เหมือนๆ กัน มี 12 คือ 
          ฮีตที่ 1 บุญเข้ากรรม  
          ฮีตที่ 2 บุญคูณลาน   
          ฮีตที่ 3 บุญข้าวจี่ 
          ฮีตที่ 4 บุญเผวส  
          ฮีตที่ 5 บุญสงกรานต์  
          ฮีตที่ 6 บุญบั้งไฟ 
          ฮีตที่ 7 บุญชำฮะ 
          ฮีตที่ 8 บุญเข้าพรรษา   
          ฮีตที่ 9 บุญข้าวประดับดิน   
          ฮีตที่ 10 บุญข้าวสาก (วันสารท) 
          ฮีตที่ 11 บุญออกพรรษา   
          ฮีตที่ 12 บุญกฐิน   
          ซึ่งจากบุญในแต่ละฮีตนี้นั้น  สามารถสรุปและแยกเป็นประเภทได้ดังนี้  
          1.  บุญที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์โดยตรง มี 6 คือ บุญเข้ากรรม  บุญข้าวจี่  บุญเผวส  บุญเข้าพรรษา  บุญออกพรรษา  และบุญกฐิน   
          2.  บุญที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน   ในลักษณะการขอพรเพื่อความโชคดี มีความอุดมสมบูรณ์ในพืชพันธุ์ธัญญาหารของตน มี 2 คือ บุญคูณลาน  และบุญบั้งไฟ   
          3.  บุญเกี่ยวกับขวัญกำลังใจในการดำรงชีวิต  ภายใต้ความเชื่อของคนในท้องถิ่น ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือนั้นจะช่วยให้ชีวิตของตนมีความเจริญรุ่งเรือง ปลอดภัย มี 2 คือ บุญสงกรานต์  และบุญชำฮะ  
          4 .  บุญเกี่ยวกับความกตัญญู  เน้นที่การรู้จักคิดถึงผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ มี 2 คือบุญข้าวประดับดิน  และบุญข้าวสาก (สารท)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น