วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ลัทธิจิตนิยม (Idealism)



ประยงค์  แสนบุราณ. (2548). ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. หน้า. 116-118
“ลัทธิจิตนิยม (Idealism)
        เฮเกล  นักปรัชญาชาวเยอรมันถือเป็นตัวแทนของนักปรัชญาลัทธิจิตนิยมได้ทั้งหมด จิตนิยมของเฮเกลคล้ายญาณวิทยาเพราะใช้ตรรกวิทยานิรนัย คือการค้นหาเหตุผลในรูแบบการค้นหาความรู้ และปฏิบัติตรรกวิทยาอุปนัยของลัทธิประจักษ์นิยม  ที่เชื่อถือสิ่งที่ตนได้พบได้เห็น  แต่ความจริงบางอย่างประจักษ์นิยมไม่สามารถเข้าถึงได้ ถ้าพิจารณาดูแล้วลัทธินี้มีความสอดคล้องกับพุทธศาสนาทีเดียว  เพราะเฮเกลได้ค้นพบความจริงบางอย่างจนเชื่อได้ว่าจริง  จึงได้เขียนหนังสือ “ปรากฏการของจิต” มีคำพูดอันเป็นอมตะของเฮเกล คือ “ความจริงแท้เป็นสิ่งที่รู้ได้ด้วยเหตุผล และสิ่งที่รู้ได้ด้วยเหตุผลคือความจริงแท้”  เอกภพทั้งหมดเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันซึ่งจะประกอบด้วยจิต  คนจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งและเกี่ยวพันกับส่วนอื่นๆ และทุกส่วน  ดังนั้นทุกสิ่งจึงรู้ได้ด้วยเหตุผล  ใครอยากจะพบความจริงต้องใช้หลัก    ปฏิพัฒนาการ (Principle of Idealectic) คือ สภาพพื้นฐาน (Thesis) สภาพขัดแย้ง (Antithesis) และสภาพปรองดอง (Synthesis)  ทั้ง 3 ระยะนี้  เมื่อเกิดสภาพปรองดองเมื่อใดก็หมายความว่าถึงความก้าวหน้าสูงกว่าสภาพพื้นฐานเดิม  เป็นความก้าวหน้าหนึ่งของพัฒนาการสภาพปรองดองนั้นจะกลายเป็นสภาพพื้นฐานอีกเมื่อผ่านไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น