วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมการเมืองกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม



ณัชชาภัทร  อุ่นตรงจิตร. (2552). รัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.      หน้า 192-195
“วัฒนธรรมการเมืองกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม”
        วัฒนธรรม หมายถึง แนวความคิด  แนวปฏิบัติ  หรือเทคนิควิธีการดั้งเดิมที่ใช้ร่วมกัน  โดยกลุ่มคนที่สามารถบอกได้ว่าเป็นกลุ่มคนพวกเดียวกัน  ส่วนวัฒนธรรมการเมืองนั้น คือแบบแผนของทัศนคติและความเชื่อของบุคคลที่มีต่อระบบการเมืองของกลุ่มสมาชิกของระบบการเมืองหนึ่ง  วัฒนธรรมการเมืองสามารถจำแนกได้ดังนี้ 1. วัฒนธรรมการเมืองดั้งเดิมจำกัดวงแคบ คือกลุ่มคนที่ไม่สนใจแนวคิดทางการเมืองอะไรจะเกิดก็ให้เกิดไป 2. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า  คือบุคคลในสังคมให้ความสนใจการเมืองยอมรับอำนาจของผู้ปกครอง จึงไม่สนใจที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม 3. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม คือทุกคนให้ความสนใจการเมืองและตระหนักเป็นอย่างดีว่าการเมืองมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต  วัฒนธรรมทางการเมืองมีความสำคัญ คือสามารถสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นได้  ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พิจารณาได้จากกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตกในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงในปี 2475  สำหรับประเทศไทยมีวัฒนธรรมทางการเมือง คือ เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาการเมืองไทยอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง  การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทำให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ในช่วงปี 2500 ก่อให้เกิดกลุ่มคนรุ่นใหม่ ความแตกต่างของคนเมืองและคนชนบท และชุมชนต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น